kruearthphoto

รวมบทความและคำสอน จากสาขาวิชาถ่ายภาพ ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL, BKK)

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

ดอกไม้

เป็นความเพลินในการดูดอกไม้เลยเอามาเรียงร้อยกันเป็น ชุดของภาพ เล่าเรื่องกัน

ดอกลั่นทม
ใบบอน

แพงพวยขาวกับมดคันไฟ



หนุมาณประสานกาน
เอื้องคำ

เอื้องคำ


บัว...

ฟ้ามุ้ย
ดอกมะเฟือง
โมก

วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

การถ่ายภาพย้อนแสง

การถ่ายภาพย้อนแสง
            บ่อยครั้งที่นักถ่ายภาพไม่ว่าจะรุ่นเล็กรุ่นเก่ารุ่นเก๋า เกิดอาการหมดมุข หรือหมดมุม ขึ้นมาเวลาไปถ่ายภาพที่ไหนๆก็มองไม่เห็นมุมที่ถูกใจ มองไปทางไหนก็เห็นใครๆก็ถ่ายกันอยู่  ก็ต้องทำใจกันนิดหนึ่งครับ ในโลกของการถ่ายภาพ ไม่มีอะไรใหม่ และไม่มีอะไรเก่า สิ่งที่อยู่ตรงหน้าต่างหากคือ สิ่งสำคัญ ถ้าเรามองให้ดีมองให้ละเอียด ไม่ว่าจะที่ไหน ก็มีมุมดีๆ ให้เราได้เสมอ
สิ่งแรกๆที่นักถ่ายภาพทั้งหลายต้องพิจารณาให้ดีก่อนยกกล้องขึ้นมาก็คือแสงครับ แสงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการถ่ายภาพ เพราะเป็นเหตุปัจจัยแรกของการกำเนิดภาพ แสงจะให้อารมณ์ที่ต่างกันไปในแต่ละห้วงเวลา การใช้แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ภาพมีคุณภาพและสวยงามน่ามองครับ  โดยมากเราไม่มีเวลาให้กับสถานที่อะไร มากมายในการเผ้ารอแสง เวลาเดินทางก็ก็มีเวลาอันน้อยนิด ผมเลยมีมุมมองในรูปแบบหนึ่งมานำเสนอเพื่อว่าจะจุดประกายไอเดีย ให้กับเพื่อนๆนักถ่ายภาพ ได้บ้างครับ
ลูกเล่นหนึ่งที่ผมจะนำมาเสนอครั้งนี้ก็คือการ ถ่ายภาพย้อนแสง หรือภาพโครงทึบ ภาษาอังกฤษก็ Silhouetted photography  เป็นที่รู้กันดีในหมู่นักถ่ายภาพว่าถ้าหันกล้องไปทางแหล่งแสง ก็คือพระอาทิตย์ แล้ววัดแสงข้างหลังให้กล้องย้อน หรือส่วนทางกับแหล่งแสงภาพที่ออกมาเป็นภาพโครงทึบ โดยมากมักจะ ถ่ายกันตอนเย็นๆ ไม่มีใครหันกล้องเข้าหาดวงอาทิตย์ตอนกลางวัน ห้ามเด็ดขาด เพราะเป็นอันตรายกับดวงตาของท่านครับ


ภาพนี้ผมถ่ายที่ เมือง Bergen Norway เวลาประมาณ 22.00 . ในฤดูใบไม้ผลิ ครับ เมืองนอกเขาโชคดีคือมีเวลายามเย็นแบบนี้นานครับ ผมวัดแสงที่ท้องฟ้า ได้ ความเร็วชัตเตอร์ 125 รูรับแสง   F 16 ซึ้งพอมาวัดที่พื้น ได้ ความเร็วชัตเตอร์ 125 รูรับแสง   F 4 ห่างกัน 5 สตอป ถ้าเราถ่ายพอดีที่พื้น แสงจะพอดีทั้งภาพ ภาพจะสว่างไปหมด รูปปั้นจะสว่าง แสงสีท้องฟ้าจะไม่เข้ม  ผมต้องการเน้นเงาโครงสร้างของรูปปั้นให้เป็นจุดเด่น เลยถ่ายภาพที่ท้องฟ้า ก็คือ F 8 ภาพที่ได้ก็เป็นภาพเงาดำสมใจ อ้อ ลืมบอกว่าผมใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุดครับ วัดที่ท้องฟ้าแล้วค่อยมาวัดที่พื้นแล้วเลือกค่าที่ต้องการบันทึกตามนั้นด้วยโหมดแมนนวล ถ้าใช้ ออโต้ กล้องมักจะเลือกค่ากลางๆให้เรา
แต่เราไม่จำเป็นจะต้องรอพระอาทิตย์ตกเท่านั้นนะครับ การถ่ายภาพย้อนแสงมีวิธีสร้างสรรค์หลายรูปแบบครับ เมื่อไรที่เราถ่ายภาพโดยที่ฉากหลังสว่างกว่าตัวแบบ โดยที่วัดแสงที่ฉากหลัง แบบจะมืดไปโดยอัตโนมัติ นั้นหมายความว่าสิ่งที่ปรากฏจะเป็นแค่โครงรูปร่างและรูปทรง(Shape &Form) ของสิ่งที่จะถ่ายเท่านั้น เมื่อใดที่ต้องการถ่ายภาพในลักษณะนี้ เราต้องมองหารูปร่างและรูปทรงเสมอครับ เพราะความน่าสนใจของภาพจะอยู่ตรงนี้

ภาพนี้ถ่ายที่ โตนเลสาบ ประเทศกัมพูชา ในระหว่างนั้งเรือชมทะเลสาบเขมร ตอนเช้าๆ แดดแรงแต่ไม่ร้อน ผมนั้งหัวเรือเห็นเด็กชายมาช่วยคัดหัวเรือออกจากฝั่ง ผมยกกล้องขึ้น คิดไว้แล้วจะให้เป็นภาพที่เน้น โครงร่างของเด็กตัดกับท้องฟ้า  โดยใช้กรอบที่หัวเรือเป็นระยะหน้า ใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ย ที่ส่วนใหญ่จะวัดที่ท้องฟ้า ซึ่งสว่างกว่าที่ตัวเด็ก ตัวเด็กก็เลยมืดไปโดยปริยาย

บางครั้งนักถ่ายภาพก็ต้องตาไวเหมือนกันนะครับ เวลาเห็นแสงสองมานี่ ลองคิดสักนิดว่าเราจะยืนอยู่ตรงไหน จะ ตามแสงจะย้อนแสง อย่างภาพนี้ ถ่ายที่ สวนสาธารณะ Luxemburgใจกลางกรุงปารีส  ประเทศผรังเศษ  ผมเดินอยู่เห็นคนนั้งอ่านหนังสืออยู่บนม้ายาวก็ไม่ได้สนใจจะถ่ายภาพเพราะเห็นตามแสง แต่พอเดินอ้อมมาด้านหลังเห็นแสงที่ส่องผ่านแมกไม้ผ่านคนที่นั้งอยู่เป็นมุมมองที่สวยงาม ที่เน้นภาพโครงทึบของคน ม้านั้ง และหมู่ต้นไม้ ผมกดชัตเตอร์ทันที่ โดยใช้การวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลางเพราะกล้องมีระบบวัดแสงแบบเดียว โดยวัดที่แสงที่ตกลงมาครับอย่าไปวัดที่ตัวคนหรือในเงามืด มันจะไปพอดีในเงา ภาพจะสว่างไปครับ
การถ่ายภาพย้อนแสงนั้นบางที่ก็สามารถเพิ่มรายละเอียดในส่วนของเงา(Shadow) ได้ จะทำให้ภาพน่าสนใจขึ้น บ่อยครั้งก็ทำให้ภาพน่าสนใจขึ้น สิ่งเหลานี้ท่านนักถ่ายภาพต้องคิดไว้ก่อนนะครับ ว่าจะเลือกมุม จะเพิ่มเติมรายละเอียดของแสงมากน้อยแค่ไหน ก่อนกดชัตเตอร์์ ก็น่าคิดไว้คร่าวๆว่าอยากให้ภาพออกมาเป็นอย่างไร 

อย่างเช่น ภาพหอ ไอเฟล ที่ประเทศฝรังเศษ นี่ผมคิดว่า มีคนถ่ายถาพมาเป็นล้านแน่ๆ ทำอย่างไรภาพมันจะไม่ซ้ำซากจนเกินไปนัก สำหรับตัวเอง ครั้นจะถ่ายมุมที่คนไม่เคยถ่ายเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ ก็ลองมองดูรอบๆเดินไปเดินมา ก็สะดุดตากับโครงสร้างเหล็กที่สอดประสานกันอย่างลงตัว ยกกล้องฟิลม์ขาวดำที่ติดเลนส์ นอร์มอล 45มม. วัดแสงที่ท้องฟ้าข้างหลังเป็นหลัก ได้ 16 วัดที่โครงเหล็กได้ 8ผมถ่ายที่ 11ครึ่ง ชดเชยแสงให้รายละเอียดในที่มืด และกะว่าจะเอามาช่วยในห้องมืดครับ แต่พอตอนอัดออกมา กับไม่ต้องทำอะไรเลย รายละเอียดที่ต้องการก็อยู่ ส่วนที่อยากให้มืดก็มืดสมใจ
การถ่ายภาพย้อนแสงก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างสรรค์ ที่น่าสนใจในการถ่ายภาพสิ่งที่จะทำ ให้ภาพออกมาน่าสนใจก็คือรูปร่างและรูปทรงของสิ่งที่ปรากฏในภาพ ท่านนักถ่ายภาพต้องพิถีพิถันสักหน่อยในการเลือกมุมมอง คิดภาพที่อยากได้ไว้ก่อนเสมอ แล้วท่านก็จะมีมุมภาพถูกใจตัวเอง ที่ไม่เหมือนใครเลยครับ

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน
ในยามที่เริมจะมืดมิด หลายๆท่านก็เริ่มจะเก็บกล้องเก็บของเพื่อหยุดการบันทึกภาพเพราะแสงหมด แต่ว่าหลายครั้งที่เรามักจะต้องงัดกล้องกลับออกมาใหม่ เพราะความงามของแสงไฟในยามคำ่คืนได้เข้ามาแทนที่ แสงจากดวงตะวัน
การถ่ายภาพกลางคืน เป็นการนำเสนอมุมมองอีกมุมหนึ่งของสิ่งนั้นหรือสถานที่นั้น บ่อยครั้งที่สถานที่ธรรมดา กลายเป็นสถานที่สวยงามเมื่ออยู่ภายใต้การประดับประดาด้วยแสงไฟในยามราตี เหมือนกับมุมมองที่แสนธรรมดาของสี่แยกปทุมวัน พอเป็นยามคำ่แสงสีต่างๆรวมไปถึงการเคลื่อนไหวของเส้นสายรถยนต์ ทำให้ภาพน่าสนใจมากกว่าตอนกลางวันแบบคนละเรื่อง


                                                                  Lens 40mm. F 11, 15sec Iso 100
อย่างภาพนี่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 15 วินาที ทำให้ไม่สามารถหยุดการเคลื่อนไหวของรถยนต์ที่กำลังเลี้ยวได้ได้ และปริมาณของแสงก็มีไม่มากพอ ทำให้จับภาพได้เพียงเส้นของไฟหน้าและไฟหลังรถ เส้นสายเหลานี้เป็นเสนห์อย่างหนึ่งของภาพเมืองในเวลากลางคืนนะครับ 
ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของการถ่ายภาพกลางคืนก็คือขาต้ังกล้องครับ ด้วยความที่กลางคืนแสงน้อย ทำให้ความเร็วชัตเตอร์ตำ่มาก จนไม่สามารถถือกล้องให้นิ่งด้วยมือเปล่าได้ อีกสิ่งหนึ่งก็คือสายลั้นชัตเตอร์ ที่จะทำให้เรากดชัตเตอร์ได้โดยที่กล้องไม่สั่น ถ้าไม่มีก็ใช้ ตัวตั้งเวลา(Self Timer)ถ่ายก็ได้ครับ 




Lens 17-40 F 11, 2 sec Iso 100(เกรียงคักดิ์ ยิ่งมโนกิจ ถ่ายภาพ)

ภาพนี้ถ่ายจากตึกสูงซึ่งมีลมแรง ขาตั้งกล้องต้องมีขนาดใหญ่พอสมควรครับ ควรถ่วงด้วยของหนักๆเช่นกระเป๋ากล้อง ใช้สายลั่นชัตเตอร์เพราะกลัวกล้องสั่นจากการที่มือไปจับ ภาพลักษณะที่สั่นเพียงนิดก็เสียความคมชัดแล้วครับ  การถ่ายภาพกลางคืนถ้าเป็นภาพทิวทัศน์ มักจะเน้นให้ชัดทั้งภาพ จึงต้องใช้รูรับแสงแคบๆคือ  ตั้งแต่ 11 ข้ึนไปซึ่งก็จะเป็นผลให้ ความเร็วชัตเตอร์ตำ่ไปโดยปริยาย ด้วยความที่ภาพนี้ถ่ายตอนโพลเพล ท้องฟ้ายังไม่มืดสนิทการวัดแสง ก็ควรวัดแสงที่พื้น นะครับเพราะจะพอดี ถ้าไปวัดที่ท้องฟ้าหรือให้บริเวณท้องฟ้ามีมากในภาพ กล้องจะไปวัดแสงที่ท้องฟ้าซึ่งสว่างกว่าแสงไฟในเมืองจะทำให้ภาพสว่าง(Over)เกินไปครับ แต่ถ้า ฟ้ามืดสนิทแบบภาพแรก ก็วัดแสงเฉลี่ยกันที่แหล่งแสงก็คือถนน เลยครับ อีกปัจจัยที่สำคัญก็คือ การตั้งค่าความไวแสงหรือ ISO  อย่าลืมนะครับเราถ่ายภาพกลางคืนที่มีความมืดและสว่างปนกันไป ถ้าตั้ง iso สูง ภาพจะเกิด สัญญานรบกวน หรือ นอยส์(Noise)ในบริเวณทีมืดทำให้ภาพไม่คมชัดเท่าทีควร





                                                              Lens 17-55 F 16 , 4 Sec Iso 800
ภาพกลางคืนนี่นอกจากภาพทิวทัศน์ของเมือง(Cityscape) แล้วภาพอีกลักษณะที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือภาพวิถีชีวิตในยามราตรี ครับ ยิ่งกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆสามารถถ่ายภาพในเวลาที่แสงน้อยๆด้วย ISO สูงๆแล้วรูปที่ออกมายังดีอยู่ยิ่งทำให้การบันทึกภาพแบบนี้ยิ่งสนุกมากขึ้น


lens 20 mm F 5.6, 4 sec iso 800



lens 17-55 F 2.8, 1/15 Iso 1600

และที่ต้องระวังคือการตั้ง ค่าไวท์บาลาซ์ ครับเพราะถ้าเป็นค่าออโต กล้องจะพยายามปรับให้ภาพสมดุลย์กับแสงภาพสีจะไม่สดใสครับ อีกประการคือไม่ควรใช้แฟลชครับเพราะ มันจะไปลบสีสรรค์และนำ้หนักของความเป็นกลางคืนไปจนหมด 


lens 17-55 F 2.8, 1/15 Iso 1600


                          

Lens 80-200F 2.8, 1/4 Iso 200

อย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกครับการถ่ายภาพกลางคืนนี่ ทำให้มุมธรรมดาๆตอนกลางวันเป็นมุมที่นาสนใจได้ เป็นเรื่องที่น่าสนุกที่จะค้นหานะครับ ขอให้สนุกครับ






การถ่ายภาพใกล้

การถ่ายภาพใกล้

            เคยเป็นไหมครับเวลาที่อยากถ่ายภาพแต่ไม่รู้ว่าจะถ่ายอะไร ไปเที่ยวตามป่าตามเขาก็ไม่มีเวลามากมายขนาดนั้น  ถ้าใครมีอาการแบบนี้ ผมขอแนะนำ ให้ลองมองธรรมชาติรอบตัวดูเช่น สนามหญ้ากระถางบัว ดอกไม้ใบไม้รอบๆตัว ลองมองมันอย่างละเอียด มองใกล้ๆแล้ว อาจจะพบ มุมที่สวยงามน่าสนใจได้ พอเห็นของเล็กๆแล้วอยากจะบันทึกภาพนี่ต้องใช้เลนส์ ที่สามารถถ่ายภาพใกล้ได้นะครับ
Lens 105 f5.6 / 250
            เลนส์ถ่ายภาพใกล้ หรือเลส์มาโคร เป็นเลนส์ที่มีกำลังขยายสูง   เลนส์โดยมากจะมีกำลังขยายที่ 1 ต่อ1 หมายความว่า ภาพที่ได้จะมีขนาดภาพในเซนเซอร์ เท่าสิ่งของที่ถ่ายจริง ถ้ากำลังขยาย 1ต่อ 2ก็คือ ภาพจะมีขนาดใหญ่สุด(ในเซนเซอร์) ½ เท่าเมื่อเทียบจากสิ่งของนั้น  สามารถเข้าใกล้วัตถุได้มากกว่าช่วงเลนส์ทั่วไป เลนส์มาโครแท้ๆ มักจะเป็นเลนส์เทเลโฟโต้ ขนาดตั้งแต่  55 ม.ม. 105 ม.ม. 200 ม.ม   การใช้งานก็จะต่างออกไป ช่วง55 มักจะถ่ายของเล็กที่ต้องการฉากหลัง มักเอาไว้ถ่ายสิ่งของ ส่วน 105 ถึง 200 เอาไว้ถ่ายภาพสิ่งของในธรรมชาติ ที่เข้าใกล้ไม่ได้ เช่น แมลง  ดอกไม้เล็กๆ ครับ ที่เรียกว่าเลนส์มาโคร แท้เพราะ เลนส์ ซูมบางตัวก็มีโหมดมาโคร ถ่ายใกล้ได้ โดยมากมักจะขยายได้  1:2  แต่มักจะเข้าใกล้ได้มากสุดที่ช่วง Wide angle ของ ซูมครับ 

Lens 105 f4 / 250

   อย่างภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์ 105 ครับถ้าใช้รูรับแสงกว้าง ช่วงความชัดจะน้อยมาก พยายามหาจุดโฟกัสที่กลางดอก เพื่อสร้างจุดเด่นครับ ทางที่ดี บาง object นี่ก็ควรเลือก มุมมองให้ดี เพราะขยับเข้าใกล้ ก็จะได้ภาพแบบหนึ่งพอถอยออกมาก็จะได้ภาพอีกแบบหนึ่ง ทั้งที่ต่างกันเพียงไม่กี่ เซ็นติเมตรนะครับ


 Lens 105 f5.6 / 60

                                                
Lens 105 f8/ 30


สองภาพนี้ใช้เลนส์ 105 ครับ ภาพแรกถ่ายให้เห็นเต็มดอก รวมทั้งบรรยากาศ ด้วยความที่ใกล้มาก และใช้รูรับแสงกว้างที่ 5.6  เพราะต้องการการคบคุุมช่วงความชัดให้ชัดทั้งดอก ความเร็วชัตเตอร์ 60 จะเห็นว่าฉากหลังนั้นเลื่อนสลายไป แล้วเลือกจุดโฟกัสอยู่ทีกลางดอกครับ   ส่วนอีกภาพใช้เลนส์ตัวเดิมแต่ขยับเข้าไปใกล้มาก ประมาณ 10 ซ.ม.  ใช้รูรับแสง  8 เพื่อให้ความชัดอยู่ที่กลางดอก  ด้วยความที่โฟกัสใกล้มาก ช่วงความชัดเลยน้อยมาก แม้แต่ รูรับแสง กลางๆ อย่าง 8  มีช่วงความชัดที่ตื้นมากเลยครับ   ส่วนอื่นๆจะเลือนไป เป็นภาพที่มีลักษณะนามธรรม    และที่สำคัญเมื่อเข้าใกล้มากที่กำลังขยาย 1:1 แล้ว เลนส์จะเสียแสงไป 1 สต๊อบครับ คือถ้าใช้ที่ กว้างสุด2.8   จะต้องชดเชยแสงให้เลนส์ 1 สต๊อบคือ ใช้ที่  F4 ถ้าถ่ายในระบบแมนนวลต้องระวังครับ
            ความนิ่งเป็นสิ่งสำคัญของการถ่ายภาพใกล้ครับ อุปกรณ์ที่ควรมีคือขาตั้งกล้อง เพราะเรามักจะต้องถ่ายภาพของชิ้นเล็กๆ ในสภาพแสงไม่มากเท่าไร ความเร็วชัตเตอร์ก็ไม่คอยสูง ขาต้ังกลองจะเข้ามาช่วยลดการสั่นไหว กล้องของบางท่านอาจจะมีระบบต่อต้านการสั่นไหว แต่ถ้าความเร็วชัตเตอร์ตำ่มากขาตั้งจะช่วยเพิ่มความนิ่งได้ดีครับ อีกประการ คือถ้าเราขยับเพียวนิด แค่1 หรือ 2 ซ,ม, ความชัด ขนาดภาพและจุดโฟกัสก็เปลี่ยน ยิ่งของตามพื้นอย่างดอกหญ้าที่ต้องก้มๆเงยๆตลอด  ขาตั้งจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ครับ

 นอกจากขาต้ังกล้องแล้วที่ช่วยทำให้กล้องนิ่งจากความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆแล้ว  การสั่นไหวของกลองอาจเกิดจากเวลาที่เราจับกล้องและกดชัตเตอร์บนตัวกล้องเมื่อใช้ความเร็วต่ำๆและเข้าใกล้มากๆการกดตัวกล้องและการกระดกของกระจกสะท้อนภาพก็มีผล


(อุปกรณ์การถ่ายภาพ ใกล้)
ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยการใช้สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทคอนโทล และการล็อกกระจกสะท้อนภาพ(มักจะมีในกล้องระดับอาชีพ) ถ้าไม่มีก็ใช้ระบบตั้งเวลาถ่ายได้ครับ บางรุ่นนี้พอตั้งเวลาก็จะล็อคกระจกไปโดยอัตโนมัตเลยครับ
lens 80-200 f 4 /125             
อย่างไรก็ตามหากไม่มีเลนส์มาโครแท้ก็อาจใช้เลนส์เทเลโฟโต้ 200 หรือ 300 ม.ม. ก็ได้ครับแต่อาจจะถ่ายของเล็กๆไม้ได้แต่กับพวกผีเสือแมลงปอนี่ได้เลยครับอย่างภาพดอกบัวนี่ก็ใช้เลนส์ 200 ม.ม.ถ่ายครับใช้รูรับแสง F4 ความเร็วชัตเตอร์ที่ 125 เพื่อให้ชัดทั้งดอกครับ

Lens 105 f2.8/60
           
การถ่ายภาพเป็นสิ่งท่ีทำให้เรามองโลกละเอียดขึ้นครับ สิ่งเล็กน้อยรอบตัวกลายเป็นสิ่งที่หน้าสนใจขึ้นมาเลยครับภาพทั้งหมดในเรื่องนี้ผมถ่ายที่สนามเล็กๆในบ้าน แค่นี้ก็เพลินและได้รูปดีๆแล้วครับ ขอให้สนุกนะครับ


           

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม

ว่ากันว่าสถาปนิคผู้เชี่ยวชาญสามารถออกแบบ อาคารให้น่าอยู่อาศัยและสะดวกสบาย ซำ้ยังมีความสวยงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้อาศัยและผู้พบเห็น สถาปนิคมักจะใช้จิตนาการในการใช้เส้นสายรูปร่างรูปทรงและรายละเอีียดอย่างพินิจพิเคราะห์ ซึ่งนักถ่ายภาพจะต้องค้นให้พบเพื่อถ่ายทอดความของสถาปัตยกรรมนั้นๆออกมาผ่านภาพถ่าย
         เมื่อจะถ่ายภาพอาคารใด ขอให้ท่านนักถ่ายภาพ ลองมองให้ทั่วๆครับ และพยายามจดจำว่าอะไรเป็นสิ่งแรกที่สะกิดตาของท่านไม่ว่าจะเป็นวงโค้งของประตู กรอบหน้าต่าง หรือเส้นที่สูงของตึกระฟ้า

    
         Lens35/f 5.6 speed 60 iso 100   Lens28/f 11 speed 125 iso 100

อย่างภาพบ้านหลังนี้ ผมเดินเล่นอยู่ในละแวกบ้านพักที่ชานกรุงลอนดอน เป็นบ้านธรรมดาๆที่เดินผ่านบ่อยๆ แต่ผมกับสะกิดตากับประตูหน้าต่างที่ดูสมดุลเท่าๆกัน แต่พอมองในรายละเอียด กับมีความต่างซ่อนอยู่ในร่ายละเอียดเล็กๆของประตูหน้าต่างเหล่านั้น  หรือจังหวะของหน้าต่างและช่องลมกับสีสรรค์ที่ดูเข้ากันอย่างเหมาะจะซึ่งผมพยายามที่จะถ่ายภาพให้ทั้งภาพเท่ากันหมดแต่ก้ค่อนข้างลำบากนิดหนึ่งครับเพราะการตั้งกล้องให้ตรงและพยามจะทำให้สองข้างเท่ากันโดยไม่ใช้ขาตั้งนี่จะทำให้ตำแหน่งคลาดเคลื่อนครับภาพแบบนี้ผิดเพี้ยนนิดหนึ่งก็เสียความมีเสนห์ไปแล้วครับ

         การใช้เลนส์ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนี่สามารถใช้ได้ทุกช่วง ตั้งแต่กว้่่างมากจนถึงเทเลโฟโต้ โดยมากถ่ายภาพภาพสถาปัตยกรรมกับสิ่งแวดล้อมก็มักจะใช้เลนส์มุมกว้างครับ


Lens 20mm /f 5.6 speed 250 iso 100

ผมถ่ายภาพ Rochester Castle ในฤดูหนาวที่อังกฤษใช้เลนส์มุมกว้าง 20 มม.เพราะต้องการจะบันทึกตัวปราสาทและกำแพงรวมถึง สถาพแวดล้อมครับ โชดดีที่มีเวลารอแสงครับ ผมถ่ายภาพตอนเช้า รอแสงให้ตกลงที่ตัวปราสาทและกำแพงครับ เพราะว่า การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนี่แสงมีส่วนสำคัญมากในการทำให้ภาพอาคารมีมิติคือมีนำ้หนักไม่ดูแบนและ ยัง ช่วยเน้นรูปร่างรูปทรงของสถาปัตยกรรมนั้นอีกด้วย นอกจากนี่ยังใช้ต้นไม้เป็นฉากหน้าเพื่อช่วยเติมให้ภาพมีระยะใกล้ไกลครับ
ผมวัดแสงเฉพาะจุดที่ตัวปราสาทได้ 500 ที่รูรับแสง 16 แล้ววัดในที่มืดตรงสนามหญ้าได้ 60ที่รูรับแสงเท่าเดิม เพื่อไม่ให้ภาพมีความเปรียบต่างของแสงมากเกินไปคือตัวปราสาทจะพอดีแต่ สนามหญ้าจะมืดมาก เลยเลือกถ่ายภาพที่250 และ 125 ครับ ผมใช้รูปที่ถ่าย250 เพราะ้บริเวณฉากหน้ามีรายละเอียดไม่มืดสนิทแต่ก็ไม่สว่างเกินไป และที่ไม่ใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลียเพราะระบบนี้มักจะเอาค่าของแสงในส่วนที่มืดและสว่างมาเฉลี่ยกันทำให้ภาพออกมาเท่าๆกันไปหมดไม่มีนำ้หนักครับ


แต่ว่าท่านนักถ่ายภาพส่วนใหญ่ไม่มีโอกาศได้นั้งรอแสงเป็นชัวโมงแน่ๆครับ ก็อาจจะต้องอาศัยโชคบ้าง


Lens80-200 /f 8 speed 250 iso 100 Filter PL

อย่างภาพวัดรองขุ่นที่เชียงราย ผมไปในวันหยุดที่ผู้คนมาก ผมใช้เลนส์เทเลโฟโตที่ 200 มม.ถ่ายเฉพาะส่วนตัวโบสถ์ตัดส่วนที่มีนักท่องเที่ยวล้นหลามออก และอากาศหน้าหนาวภาคเหนือบ้านเราก็แจ่มใสดีครับ แต่ท้องฟ้าก็ยังไม่เข้มพอ ผมเลยใช้ ฟิลเตอร์โพลาไลซ์ (Polarize) หรือ PL ซึ่งก็ใช้กันบ่อยๆครับในงานสถาปัตยกรรมเพราะช่วยตัดแสงสะท้อนในกระจกและทำให้ท้องฟ้ามีสีเข้มครับ เทคนิคง่ายๆก็คือพยายามถ่ายให้ดวงอาทิตย์อยู่ข้างหลังทำมุมกับสิ่งที่จะถ่ายประมาณ 45 องศาแล้วก็หมุนที่ฟิลเตอร์จนกว่าจะได้ความเข้มของท้องฟ้าจนเป็นที่พอใจครับ

 อย่างที่กล่าวในตอนแรกครับ สถาปนิคมักจะชอบเล่นกับเส้นสายรูปร่างรูปทรง นักถ่ายภาพอย่างเราก็เข้าไปเก็นบันทึกเพื่อสร้างสรรค์ความงามในรูปแบบของตัวเอง


Lens17-55 /f 8 speed 60 iso 400
ผมไปที่หอศิลบวัฒนธรรมกรุงเทพ ที่สี่แยกปทุมวันตอนเปิดใหม่ๆ ก็ประทับใจในการเล่นเส้นสายของแต่ละชั้นในตัวอาคาร ลองเดินวนดูรอบๆขึ้นๆลงๆมองสูงมองต่ำเพื่อหามุม ที่สามารถเล่นกับเส้นในอาคารให้ได้ ภาพนี่ผมถ่าย ให้ดูเป็นที่คล้ายกับศิลปะนามธรรมที่แสดงเพียงจังหวะขององค์ประกอบศิลป์ครับ ใช้เลนส์ มุมกว้าง 17 มม. ไม่สนใจเรื่องความผิดเพี้ยนของภาพ วัดแสงเฉลี่ยได้เลยครับภาพลักษณะนี้แสงไม่ต่างกันมากระบบวัดแสงในกล้องช่วยเราได้สบายสบายครับแต่ถ้าแสงน้อยมากๆก็ควรใช้ขาตั้งกล้องนะครับเพื่อความคมชัด ผมไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ความไวแสงมากกว่า 400 เพราะนอกจากจะมีNoiseแล้วยั้งทำให้นำ้หนักแสงเงาในหายไปอีกด้วย
         หรือถ้าบางครั้งการที่มีคนอยู่ในภาพบ้างก็อาจจะช่วยในภาพน่าสนใจและมีชีวิตชีวามากขึ้นนะครับ

Lens45 /f 8 speed 30 iso 400

ใน London City Hall มีเส้นสายที่สวยงามครับแต่ผมอย่างให้มันดูมีชีวิตมีการเคลื่อนไหวหน่อยก็เลยหามุมที่ชอบแล้วรอให้คนเดินผ่านเร็วๆครับใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่สูงมาประมาณ 1/30 คนที่เดินผ่านก็จะไม่ชัด ดูกำลังเคลื่อนที่ทำให้ภาพไม่นิ่งจนเกินไป


Lens17 /f 11 speed 125 iso 100


อย่างภาพนี้ผมถ่ายระหว่างรอต่อเครื่องบินที่ สนามบิน โคเปเฮเกิน ประเทศเดนมาร์กไม่รู้จะทำอะไรระหว่างรอ เห็นอาคารเขาสวยดีก็เดินยกกล้องถ่ายเล่น และได้ภาพประทับใจ ทำให้การรอไม่น่าเบื่อไปเลย การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนี่จริงแล้วเป็นความสุขใกล้ๆตัวนะครับ เราเห็นมันตลอดเวลา เราสามารถถ่ายภาพแบบไหนก็ได้ เป็นการเรียนรู้ที่จะ สร้างองประกอบศิลป์ และเป็นการช่วยเติมเต็มสุทรียะเวลามองผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกด้วยครับ ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม นะครับ

                 
                 

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สีสรรค์ The Colour


สีสรรค์ The Colour

เพราะโลกนี้คือสี คำโฆษณาเก่าๆที่หลายคนคงจะคุ้นหู และเห็นด้วยว่าโลกเรามีสีสรรค์มากมาย เอาแค่ตาเราเห็นในชีวิตประจำวันก็เยอะจนนับไม่ไหวแล้ว หลายครั้งท่ีธรรมชาติเกิดจังหวะสีสดใสสวยงาม จนช่างภาพต้องการถ่ายภาพไว้ สีสรรค์ในธรรมชาติส่วนใหญ่จะผสมกลมกลืนกันหลายหลากโทนสี ไม่มีสีอะไรอยู่โดดเดียว ซึ่งมักจะไล่นำ้หนักตามโทนสี มีความกลมกลืนกัน ภาษาคิลปะเรียกว่า Harmony ใบไม้สีเหลืองในธรรมชาติ ไม่อยู่โดดๆ มักจะมีสีคู่ใกล้เคียงผสมเจืออยู่ เราก็ต้องช่างสังเกตุพอสมควรครับ

( Kodak E100 vs, Lens 105 macro ,f 8 /speed500)
จากภาพคงพอจะสังเกตุเห็นสีนำ้ตาลเข้มไล่โทนไปจนถึงสีนำ้ตาลอ่อนแล้วค่อยมาเป็นเหลอืงที่มีหลายโทนสี ภาพนี้ถ่ายด้วยฟิลม์ สไลด์ครับในยุคฟิลม์ภาพสีสดนี่ต้องเลือกที่ฟิลม์เท่านั้น ถ้าจะใช้สีสดมากๆก็ต้อง Fuji Velvie 50หรือ Kodak E100 vs ถ่ายให้อันเดอร์ 1/3 สตอป สีก็จะสดเข้มครับ ทุกวันนี้ฟิลม์เหล่านี้ก็ยังคงใช้อยู่และก็ยังเป็นฟิลม์ในใจของช่างภาพเป็นจำนวนมาก
     ถ้ามองไปรอบๆสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีสีสรรค์สดใสสวยงามอยู่มากอย่างนี้การบันทึกภาพก็น่าจะเป็นเรื่องง่ายๆนะครับแต่พอเอาเข้าจริงๆภาพที่บันทึกได้กลับไม่สามารถดึงดูดสีอันสดสวยออกมาได้
     ปัจจัยแรกที่สำคัญที่สุดคือการวัดแสงและการปรับค่าความไวชัตเตอร์และรูรับแสงให้ถูกต้องกับสภาพแสง 



(Lens 17-55 ,f 11/speed 250 iso 100)
ในภาพนี้ผมเดินอยู่ในตลาดนัดที่เมือง Bergen นอร์เวย ของที่มาขายก็เป็นของที่ใช้ทั่วๆไป แต่คนที่นั้นคงจะชอบสีสดๆเพราะคงเบ่ืออากาศทึ่มๆฝนๆแบภาคใต้ของนอร์เวย ภาพนี้ผมแทบไม่ต่องทำอะไรเลย วัดแสงไปตามสภาพแสง สีสรรค์ที่สดใสอยู่ตรงหน้า เลือกมุมให้ดี แค่นี้ก็ได้ภาพสีสดตามใจเราแล้ว
     พอเป็นอย่างนี้อาจจะมีคำถามว่า แล้วโหมดบันทึกภาพสีสดในกล้องหรือที่เรียกว่า Vivid Modeล่ะ ทำไมไม่ใช้ เจ้าโหมดนี้มันก็ดีครับในบางกรณี แต่ว่าบ่อยครั้งสีมันจัดหรือเข้มเกินไป เพราะว่ามันมักจะไปเร่งที่Contrast หรือความเปรียบต่างของนำ้หนักสีในภาพ

(Lens 17-55 ,f 11/speed 500 iso 100)


ยิ่งถ้าเป็นภาพคนแล้วยิ่งดูไม่ได้เลยเพราะนำ้หนักจะเข้มเกินไป 
ลำพังถ่ายด้วย JPG ใช้โหมดปกติก็สีสดพอแล้วครับ อย่างไรก็ตามถ้าเราถ่ายภาพเป็น Rawไฟล์ เราก็สามารถเอามาปรับความสดของสีโดยโปรแกรมต่างๆได้ด้วยตัวเองครับ
     ภาพนี้ถ่ายด้วยโหมดนอร์มอล ของกล้องครับ ในวันที่แสงดีๆอากาศแจ่มใส ขอให้เราช่างสังเกตุนิดๆ เดี๋ยวเราก็ได้ภาพสีสดใสถูกใจเราเองครับ




(Lens 17-55 ,f 11/speed 125 iso 100)

อย่างนี้คงมีคำถามว่าแล้ว ถ้าเวลาอื่นๆเช่นกลางคืนละจะถ่ายภาพให้สีสดๆได้อย่างไร ถ้ามีแสงมันก็ไม่ใช้ปัญหาครับ ในกล้องเรามีตัวปรับอุณหภูมิแสง หรือที่เรียกว่า White balance เราต้องปรับให้สมดุลกับสภาพแสงตามแหล่งกำเนิดแสงนั้น



แบบAuto



                           แบบ Daylight
(Lens 80-200 ,f 8/speed 250 iso 400)

ลิเกเด็กนี่แสดงเวลากลางคืนครับผมลองบันทึกภาพด้วย White balance แบบ Auto สีก็ยังไม่ค่อยถูกใจเพราะมันไปปรับให้พอดีกับแหล่งแสงเป็นไฟสปอตร์ไลท์ ออกโทนส้มๆ คือมันจะทำให้แสงเป็นแสงขาวครับ สีจะไม่ค่อยสดแบบในภาพแรก ดังนั้นผมจึงเลือกใช้การปรับแบบ Daylight ซึ่งจะสมดุลกับแสงกลางวัน ทำให้ภาพที่ออกมาเหมือนกับที่ตาเห็น เรื่อง White balance นี่ถ้ามีโอกาศ จะมาเล่าให้ละเอียดอีกที่
     การได้เห็นสีสรรค์ที่สดใสแล้วบันทึกเก็บไว้ได้นี่ ก็คือเราเห็นโลกละเอียดละออขึ้น เห็นความงามง่ายๆที่อยู่รอบๆ เป็นความสุขที่ได้จากการถ่ายภาพอย่างหนึ่ง  ขอให้สนุกการการบันทึกสีของโลกเรานะครับ

ผู้ติดตาม