การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม
ว่ากันว่าสถาปนิคผู้เชี่ยวชาญสามารถออกแบบ อาคารให้น่าอยู่อาศัยและสะดวกสบาย ซำ้ยังมีความสวยงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้อาศัยและผู้พบเห็น สถาปนิคมักจะใช้จิตนาการในการใช้เส้นสายรูปร่างรูปทรงและรายละเอีียดอย่างพินิจพิเคราะห์ ซึ่งนักถ่ายภาพจะต้องค้นให้พบเพื่อถ่ายทอดความของสถาปัตยกรรมนั้นๆออกมาผ่านภาพถ่าย
เมื่อจะถ่ายภาพอาคารใด ขอให้ท่านนักถ่ายภาพ ลองมองให้ทั่วๆครับ และพยายามจดจำว่าอะไรเป็นสิ่งแรกที่สะกิดตาของท่านไม่ว่าจะเป็นวงโค้งของประตู กรอบหน้าต่าง หรือเส้นที่สูงของตึกระฟ้า
Lens35/f 5.6 speed 60 iso 100 Lens28/f 11 speed 125 iso 100
อย่างภาพบ้านหลังนี้ ผมเดินเล่นอยู่ในละแวกบ้านพักที่ชานกรุงลอนดอน เป็นบ้านธรรมดาๆที่เดินผ่านบ่อยๆ แต่ผมกับสะกิดตากับประตูหน้าต่างที่ดูสมดุลเท่าๆกัน แต่พอมองในรายละเอียด กับมีความต่างซ่อนอยู่ในร่ายละเอียดเล็กๆของประตูหน้าต่างเหล่านั้น หรือจังหวะของหน้าต่างและช่องลมกับสีสรรค์ที่ดูเข้ากันอย่างเหมาะจะซึ่งผมพยายามที่จะถ่ายภาพให้ทั้งภาพเท่ากันหมดแต่ก้ค่อนข้างลำบากนิดหนึ่งครับเพราะการตั้งกล้องให้ตรงและพยามจะทำให้สองข้างเท่ากันโดยไม่ใช้ขาตั้งนี่จะทำให้ตำแหน่งคลาดเคลื่อนครับภาพแบบนี้ผิดเพี้ยนนิดหนึ่งก็เสียความมีเสนห์ไปแล้วครับ
การใช้เลนส์ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนี่สามารถใช้ได้ทุกช่วง ตั้งแต่กว้่่างมากจนถึงเทเลโฟโต้ โดยมากถ่ายภาพภาพสถาปัตยกรรมกับสิ่งแวดล้อมก็มักจะใช้เลนส์มุมกว้างครับ
Lens 20mm /f 5.6 speed 250 iso 100
ผมถ่ายภาพ Rochester Castle ในฤดูหนาวที่อังกฤษใช้เลนส์มุมกว้าง 20 มม.เพราะต้องการจะบันทึกตัวปราสาทและกำแพงรวมถึง สถาพแวดล้อมครับ โชดดีที่มีเวลารอแสงครับ ผมถ่ายภาพตอนเช้า รอแสงให้ตกลงที่ตัวปราสาทและกำแพงครับ เพราะว่า การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนี่แสงมีส่วนสำคัญมากในการทำให้ภาพอาคารมีมิติคือมีนำ้หนักไม่ดูแบนและ ยัง ช่วยเน้นรูปร่างรูปทรงของสถาปัตยกรรมนั้นอีกด้วย นอกจากนี่ยังใช้ต้นไม้เป็นฉากหน้าเพื่อช่วยเติมให้ภาพมีระยะใกล้ไกลครับ
ผมวัดแสงเฉพาะจุดที่ตัวปราสาทได้ 500 ที่รูรับแสง 16 แล้ววัดในที่มืดตรงสนามหญ้าได้ 60ที่รูรับแสงเท่าเดิม เพื่อไม่ให้ภาพมีความเปรียบต่างของแสงมากเกินไปคือตัวปราสาทจะพอดีแต่ สนามหญ้าจะมืดมาก เลยเลือกถ่ายภาพที่250 และ 125 ครับ ผมใช้รูปที่ถ่าย250 เพราะ้บริเวณฉากหน้ามีรายละเอียดไม่มืดสนิทแต่ก็ไม่สว่างเกินไป และที่ไม่ใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลียเพราะระบบนี้มักจะเอาค่าของแสงในส่วนที่มืดและสว่างมาเฉลี่ยกันทำให้ภาพออกมาเท่าๆกันไปหมดไม่มีนำ้หนักครับ
แต่ว่าท่านนักถ่ายภาพส่วนใหญ่ไม่มีโอกาศได้นั้งรอแสงเป็นชัวโมงแน่ๆครับ ก็อาจจะต้องอาศัยโชคบ้าง
Lens80-200 /f 8 speed 250 iso 100 Filter PL
อย่างภาพวัดรองขุ่นที่เชียงราย ผมไปในวันหยุดที่ผู้คนมาก ผมใช้เลนส์เทเลโฟโตที่ 200 มม.ถ่ายเฉพาะส่วนตัวโบสถ์ตัดส่วนที่มีนักท่องเที่ยวล้นหลามออก และอากาศหน้าหนาวภาคเหนือบ้านเราก็แจ่มใสดีครับ แต่ท้องฟ้าก็ยังไม่เข้มพอ ผมเลยใช้ ฟิลเตอร์โพลาไลซ์ (Polarize) หรือ PL ซึ่งก็ใช้กันบ่อยๆครับในงานสถาปัตยกรรมเพราะช่วยตัดแสงสะท้อนในกระจกและทำให้ท้องฟ้ามีสีเข้มครับ เทคนิคง่ายๆก็คือพยายามถ่ายให้ดวงอาทิตย์อยู่ข้างหลังทำมุมกับสิ่งที่จะถ่ายประมาณ 45 องศาแล้วก็หมุนที่ฟิลเตอร์จนกว่าจะได้ความเข้มของท้องฟ้าจนเป็นที่พอใจครับ
อย่างที่กล่าวในตอนแรกครับ สถาปนิคมักจะชอบเล่นกับเส้นสายรูปร่างรูปทรง นักถ่ายภาพอย่างเราก็เข้าไปเก็นบันทึกเพื่อสร้างสรรค์ความงามในรูปแบบของตัวเอง
Lens17-55 /f 8 speed 60 iso 400
ผมไปที่หอศิลบวัฒนธรรมกรุงเทพ ที่สี่แยกปทุมวันตอนเปิดใหม่ๆ ก็ประทับใจในการเล่นเส้นสายของแต่ละชั้นในตัวอาคาร ลองเดินวนดูรอบๆขึ้นๆลงๆมองสูงมองต่ำเพื่อหามุม ที่สามารถเล่นกับเส้นในอาคารให้ได้ ภาพนี่ผมถ่าย ให้ดูเป็นที่คล้ายกับศิลปะนามธรรมที่แสดงเพียงจังหวะขององค์ประกอบศิลป์ครับ ใช้เลนส์ มุมกว้าง 17 มม. ไม่สนใจเรื่องความผิดเพี้ยนของภาพ วัดแสงเฉลี่ยได้เลยครับภาพลักษณะนี้แสงไม่ต่างกันมากระบบวัดแสงในกล้องช่วยเราได้สบายสบายครับแต่ถ้าแสงน้อยมากๆก็ควรใช้ขาตั้งกล้องนะครับเพื่อความคมชัด ผมไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ความไวแสงมากกว่า 400 เพราะนอกจากจะมีNoiseแล้วยั้งทำให้นำ้หนักแสงเงาในหายไปอีกด้วย
หรือถ้าบางครั้งการที่มีคนอยู่ในภาพบ้างก็อาจจะช่วยในภาพน่าสนใจและมีชีวิตชีวามากขึ้นนะครับ
Lens45 /f 8 speed 30 iso 400
ใน London City Hall มีเส้นสายที่สวยงามครับแต่ผมอย่างให้มันดูมีชีวิตมีการเคลื่อนไหวหน่อยก็เลยหามุมที่ชอบแล้วรอให้คนเดินผ่านเร็วๆครับใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่สูงมาประมาณ 1/30 คนที่เดินผ่านก็จะไม่ชัด ดูกำลังเคลื่อนที่ทำให้ภาพไม่นิ่งจนเกินไป
Lens17 /f 11 speed 125 iso 100
อย่างภาพนี้ผมถ่ายระหว่างรอต่อเครื่องบินที่ สนามบิน โคเปเฮเกิน ประเทศเดนมาร์กไม่รู้จะทำอะไรระหว่างรอ เห็นอาคารเขาสวยดีก็เดินยกกล้องถ่ายเล่น และได้ภาพประทับใจ ทำให้การรอไม่น่าเบื่อไปเลย การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนี่จริงแล้วเป็นความสุขใกล้ๆตัวนะครับ เราเห็นมันตลอดเวลา เราสามารถถ่ายภาพแบบไหนก็ได้ เป็นการเรียนรู้ที่จะ สร้างองประกอบศิลป์ และเป็นการช่วยเติมเต็มสุทรียะเวลามองผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกด้วยครับ ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม นะครับ