รวมบทความและคำสอน จากสาขาวิชาถ่ายภาพ ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL, BKK)

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Stop an Action

 Stop an Action การหยุดการเคลื่อนไหว



การหยุดการเคลื่อนไหว เรื่องหนึ่งที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของการถ่ายภาพ เป็นการเปิดมุมมองที่ปกติไม่สามารถเห็นได้ การจะหยุดการเคลื่อนไหว หรือ actionนี้ เป็นหน้าที่ของ  ความไวชัตเตอร์ หรือ ที่เรียกกันว่า Shutter speed ซึ่งก็คือ ความเร็วของ ตัวเปิดปิด  ม่านชัตเตอร์ในกล้อง ที่มีหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่ ตัวรับภาพในกล้อง   ในเวลาที่เรากดชัตเตอร์ ม่านชัตเตอร์ก็จะทำการเปิดปิดในเวลาที่กำหนด โดยมากความเร็วชัตเตอร์ มักจะเริ่มที่ 30 วินาที่ ไปจนถึง 1/2000 วินาที ซึ่งถ้าใช้กล้อง DSLR นักถ่ายภายภาพคงจะคุ้นกับ ค่าความไวชัตเตอร์  1 ,1/2,  1/4,1/8, 1/15, 1/30, 1/60, 1/125, 1/250, 1/500 ,1/1000, 1/2000 ,1/4000 ค่าเหล่านี้ถือว่าเป็นค่าหลัก ของความไวชัตเตอร์ เรามักจะเรียกเป็นค่าเต็มๆแบบ 250 ครับไม่ค่อยมีใคร พูด 1/250 กรณีที่ มากกว่า  1วินาทีก็เรียก 4 วินาทีไปเลย
       ความไวชัตเตอร์ หรือ Shutter speed ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากของการถ่ายภาพเลยครับ เพราะจะเป็นตัวควบคุมความคมชัดของภาพ ควบคุมการหยุดการเคลื่อนไหว หรือการสร้างสรรค์ต่างๆที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
ถ้าต้องการจะหยุดการเคลื่่อนไหว ก้จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง ก็คือ ตั้งแต่ 250 ขึ้นไปครับ  เพราะว่า เวลาเรากดชัตเตอร์ที่กล้อง ม่านชัตเตอร์จะเปิดและปิดด้วยความเร็ว  เศษ 1 ส่วน 250 วินาที ซึ่งก็เพียงพอสำหรับการหยุดการเคลื่อนที่ปกติที่เราเห็นในชีวิตประจำวันได้ครับ ความเร็วชัตเตอร์

                                                                                                ( Lens 17-55,f 8,speed 250)

ภาพนกนางนวลนี้ถ่ายด้วยความเร็ว 1/250 วินาที่ ที่ รูรับแสง 8 นกบินไม่เร็วนักเลยสามารถหยุดความเคลื่อนไหวได้










(Lens 17-55,f 8,speed 250)

แต่อีกกับภาพนี้จะเห็นว่ามีนกบางส่วนไม่ชัดเพราะนก 2 ตัวหลังบินเร็วจนเกิดกว่า ความเณ้วชัตเตอร์ 250 จะหยุดการเคลื่อนที่ได้

การเคลื่อนไหวนี่ บางครั้งดูแล้วอาจจะเหมื่อนไม่เร็วมาก แต่พอ บันทึกภาพจริงๆกลับ ถ่ายไม่ทัน
หรือหยุดการเคลื่อนที่ไม่ได้เสียอย่างนั้น   ภาพนี่ดูเหมื่อนไม่น่าจะเร็วมากนะครับแต่ว่า ความเร็วชัตเตอร์ 250 นี่ก็ไม่สามารถหยุดการเคื่อนไหวได้ เลยต้องเพิ่มมาเป็น 1/500 ซึ่งผลที่ได้ก็คือเหมื่อนกับจักรยานหยุดนิ่งจอด อยู่กับที่



         (Lens 80-200, f 5.6, speed 250)                 (Lens 17-55,f 5.6,speed 500 pan กล้อง)

ในขณะที่อีกภาพผมเคลื่อนกล้อง(Pan)ไปตามทิศทางเดียวกับจักรยาน  เพื่อสร้างความเคลื่อนไหว โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าเดิมภาพก็ยังคมชัดแต่ดมีการเคลื่อนไหวกว่ามาก

ถ้าหากมีการเคลื่อนที่ เร็วมากๆ เราก็ต้องปรับความไวชัตเตอร์ให้สูงขึ้น โดยปกติ แล้วมักจะเกิน 1/1000 ขึ้นไป และถ้ากล้องของท่านสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ ก็จะจับ จังหวะที่ ดีที่สุดซึ่งภาษาถ่ายภาพเราเรียกว่า Peak Moment






3 ภาพนี้ถ่ายด้วยความเร็ว 1/1000 วินาที่ รูรับแสง 5.6  ISO 400 ใช้โหมดการถ่ายภาพต่อเนื่อง 5 ภาพ ต่อวินาที่ เลือกใช้ จากช่วงกลางของการบันทึกภาพ   การโฟกัสในลักษณะนี้ ถ้่าใกล้ และเคลื่อนกล้องตามเล็กน้อยแบบในภาพ ผมใช้ออโตโฟกัสแบบต่อเนื่อง พยายามให้จุดโฟกัสอยู่ที่ตัวแบบเริ่มกด ตอนเห็นล้อจักรยานแล้วปล่อยให้กล้องรัวไปครับ จน จักรยานออกจากเฟรมไป
 ในบางครั้งที่แสงน้อยและไม่สามารถใช้ความไวชัตเตอร์ที่สูงได้ แฟลช ก็จะกลายเป็นตัวช่วยสำคัญ









(Lens 17-55,f 8,speed 250)


ภาพนี้ ถ่ายด้วย โหมดการถ่ายภาพต่อเนื่อง 5 ภาพ ต่อวินาทีแบบชุดแรก ใช้แฟลชเพื่อหยุดการเคลื่อนที่ ผลก็คือภาพจะคมชัดแบบหยุดนิ่งแต่ ต้องระวังไม่ให้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าความเร็วชัตเตอร์ที่สัมพันธ์กับแฟลช โดยมากมักจะไม่เกิน 1/250 และต้องมีกำลังไฟเต็มเพราะเป็นการถ่ายต่อเนื่องจะใช้พลังงานมาก ส่วนการโฟกัส เป็นการตั้งกล้องรอ ตำแหน่งเดิม เลยต้องใช้แมนนวลโฟกัส โดยกะตำแหน่งไว้ก่อน เพราะจักรยานจะวิ่งมาเข้าโฟกัสเอง ครับ
การถ่ายภาพ แบบ หยุด Action นี่สนุกมากครับเป็นการนำสิ่งที่เห็นได้เพียงเสี้ยววินาที มาแน่นิ่งไว้ หากท่านนักถ่ายภาพจับ จังหวะนั้นได้ ภาพของท่านจะมีเสนห์มากเลยครับ ขอให้สนุกครับ


                                                                                                                                                                                                                                                                 พิจักษณ์ ทนันชัยบุตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม