รวมบทความและคำสอน จากสาขาวิชาถ่ายภาพ ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL, BKK)

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Depth of filed การควบคุมช่วงความชัด

เคยสงสัยไหมครับว่าอะไรเป็นสิ่งที่ สำคัญจนแทบจะเป็นหัวใจของการถ่ายภาพ หลายครั้งที่เราท่าน นักถ่ายภาพ มีความสงสัยเสมอ ว่ารูปที่ดีนี่คืออะไร ถ้าไม่นับความงามและเนื้อหาที่ลึกซึ้งกินใจแล้ว ปัจจัยแรกๆของการถ่ายภาพก็ คือเรื่องความชัดครับ เจ้าความชัดนี่มีหลายระดับ เบื้องต้นที่สุดก็คือการปรับ โฟกัสให้ชัดตามที่ตาเห็นในช่องมองภาพ ก่อนเป็นอันดับแรก แต่ก็ยังไม่พอครับเพราะว่ามันมีความชัดของภาพที่เราไม่เห็นด้วยครับ ไอ้เจ้านี่เราเรียกมันว่า ช่วงระยะความชัด ของภาพ หรือ Depth of filed เรียกให้ง่ายๆกว่านั้นก็คือ ชัดลึก ชัดตื้น ครับ  ที่เรียกแบบนี้ก็เพราะเราแบ่งช่วงความชัดออกเป็น 2 แบบ ใหญ่ ก็คือ ช่วงความชัดไม่มากเราก็เรียกว่าชัดตื้น ภาพจะชัดเพียงแค่บางส่วนที่ต้องการให้ชัด แต่ถ้าต้องการ
ให้ชัดหมดทั้งภาพก็เรียกว่าชัดลึก

ปัจจัยที่ควบคุมชัคลึกชัดตื้นนี่ก็คือรูรับแสงครับ ถ้ารูรับแสงกว้างคือตั้งแต่ 1.4 ไปจนถึง5.6จะให้ผลคือชัคตื้น คือชัดเฉพาะบาง และช่วงระยะความชัดจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามขนาดที่แคบลงของรูรับแสง นั้นก็คือที่ รูรับแสงแคบสุดที่ 16 หรือ 22 ภาพจะมีช่วงความชัดลึกที่สุดคือชัดเกื่อบทั้งภาพ 

­
จากตัวอย่างในภาพ รูปแรกถ่ายด้วยรูรับแสงกว้าง คือ F 4 ครับจะเห็นได้ว่าชัดเฉพาะ รถคันสีชมพูข้างหน้า เมื่อเราปรับรูรับแสงมาเป็นที่  F 8 โดยยังคงโฟกัสที่รถสีชมพูคันหน้า ช่วงความชัดจะเพิ่มขึ้นจะเห็นได้ว่ารถคันที่ 2 จะชัดขึ้น พอมาที่รูรับแสงแคบสุด คือ F 22 ช่วงความชัดก็จะครอบคลุม ไปทั้งภาพ รถคันหลังก็จะชัดขึ้นครับ
 ที่หลายท่านคงสงสัยว่าภาพแบบไหนละครับที่ควรใช้ชัดลึกหรือชัดตื้น ความจริงมันก็ไม่มีสูตรอะไรตายตัวหรอกครับ แต่ที่เห็นและนำไปใช้บ่อยๆก็คือ ถ้าต้องการเน้นแบบไม่ได้ต้องการฉากหลังก็ใช้ชัดตื้นครับ ภาพที่ชอบใช้ ชัดตื้นกันมากๆนี่ก็เป็นภาพบุคคลครับ





                              
                                                Len 85/F 1.4  ,1/60
อย่างภาพนี่ถ่ายด้วยรูรับแสงกว้างสุด คือ 1.4 และใช้เลนส์เทเลโฟโต้ขนาด 85 .. ซึ่งมีช่วงความชัดน้อย ภาพที่ออกมาจึงมีความชัดเพียงแค่ช่วงดวงตาเท่านั้น เลยจากนั้นจะเบลอไปหมดเลยครับ 


Lens 70-210 /F2.8, 1/250
ในขณะที่อีกภาพ ใช้รูรับแสง แคบมาหน่อย คือ F 2.8 และมีระยะห่างสมควร ใช้เลนส์ช่วง155 มม.ของ เลนส์ 70-210  เพื่อให้ภาพมีช่วงความชัดมากขึ้นทั้งตัวแบบแต่ ฉากหลังเบลอจนไม่เห็นอะไรเลย
            ส่วนชัดลึกนั้น ก็สมชื่อครับ มักจะใช้ถ่ายภาพ ที่อยากให้เห็นฉากหลังชัด หรืออยากให้ภาพมีความลึก ที่เห็นกันบ่อยก็ภาพทิวทัศน์ครับ ภาพนี้ถ่ายกลางความหนาวริมทะเลสาบที่นอรเวย์ ใช้เลนส์มุมกว้าง 20 .. ตั้งรูรับแสงแคบๆ ที่F16  เพื่อภาพจะได้ชัดทั้งภาพ 


 Lens 20/F 16, 1/125, Film ISO 100

        และด้วยความที่เป็นเลนส์มุมกว้าง มีองศาการรับภาพมาก จะมีช่วงความชัดมากกว่าเลนส์ เทเลโฟโต้ ทำให้บางครั้งเราไมจำเป็นต้องใช้ รูรับแสงแคบสุดเสมอไป อย่างในภาพนี้ครับ เป็นภาพยามเย็นที่แสงน้อยแล้วครับถ้าใช้รูรับแสงแคคสุดที่  F 22 อาจจะได้ความไวชัดเตอร์ที่ไม่สูงพอที่จะถือถ่ายภาพได้ ผมเลยใช้รูรับแสงกลางๆคือ  F 8  แต่ด้วยความที่เป็นเลนส์มุมกว้าง ทำให้ช่วงความชัดลึกในภาพมีมากจนน่าพอใจครับ



Lens 28/F 8 ,1/30
 อย่างไรก็ตามไม่ได้มีกฏตายตัวอะไร ว่าเลนส์มุมกว้างต้องให้ชัดลึกหรือเลนส์เทเลโฟโต้ต้องให้ชัดตื้นเสมอไป
         อย่างภาพนาข้าวชุดนี้ครับ ภาพแรกก็ใช้เลนส์ เทเลโฟโต้ 105 ..ถ่ายที่รูรับแสงกว้างที่ F 4  แต่รูปที่ /2 ผมต้องการให้เห็นบรรยากาศของนาข้าวแต่ยังคงเน้นที่รวงข้าวอยู เลยใช้เลนส์ มุมกว้าง ช่วง 17 .. ของซูม 17-55 เปิดรูรับแสงกว้างสุดที่   F 2.8 ผลที่ได้ก็คือ ภาพชัดเฉพาะช่วงรวงข้าวแต่ฉากหลังกลับค่อยเบลอไป เป็นการแสดงแสดงสภาพแวดล้องของสิ่งที่เราเน้นครับ ส่วนภาพสุดท้ายใช้เลนส์ ช่วงที่แคบคือ 55 ..เพราะอยากตัดส่วนที่รกรุงรังในภาพข้างๆออก ใช้รูรับแสงแคบๆเพื่อให้ภาพมีช่วงความชัดที่มากขึ้นครับ
 

การควบคุมช่วงความชัดนี่จะว่าไปก็เป็นเรื่อสำคัญของการถ่ายภาพเลยนะครับ ถ้าเราเข้าใจหลักการเราก็สามารถ สร้างสรรค์ภาพวางจุดเด่นจุดรองได้ตามที่เราคิด ทำให้เราสามารถสื่อสารสิ่งที่อยู่ในใจเราออกมาเป็นภาพถ่ายที่สวยงามตามใจเราครับ

                                                                        พิจักษณ์ ทนันชัยบุตร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม