รวมบทความและคำสอน จากสาขาวิชาถ่ายภาพ ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL, BKK)

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม

ว่ากันว่าสถาปนิคผู้เชี่ยวชาญสามารถออกแบบ อาคารให้น่าอยู่อาศัยและสะดวกสบาย ซำ้ยังมีความสวยงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้อาศัยและผู้พบเห็น สถาปนิคมักจะใช้จิตนาการในการใช้เส้นสายรูปร่างรูปทรงและรายละเอีียดอย่างพินิจพิเคราะห์ ซึ่งนักถ่ายภาพจะต้องค้นให้พบเพื่อถ่ายทอดความของสถาปัตยกรรมนั้นๆออกมาผ่านภาพถ่าย
         เมื่อจะถ่ายภาพอาคารใด ขอให้ท่านนักถ่ายภาพ ลองมองให้ทั่วๆครับ และพยายามจดจำว่าอะไรเป็นสิ่งแรกที่สะกิดตาของท่านไม่ว่าจะเป็นวงโค้งของประตู กรอบหน้าต่าง หรือเส้นที่สูงของตึกระฟ้า

    
         Lens35/f 5.6 speed 60 iso 100   Lens28/f 11 speed 125 iso 100

อย่างภาพบ้านหลังนี้ ผมเดินเล่นอยู่ในละแวกบ้านพักที่ชานกรุงลอนดอน เป็นบ้านธรรมดาๆที่เดินผ่านบ่อยๆ แต่ผมกับสะกิดตากับประตูหน้าต่างที่ดูสมดุลเท่าๆกัน แต่พอมองในรายละเอียด กับมีความต่างซ่อนอยู่ในร่ายละเอียดเล็กๆของประตูหน้าต่างเหล่านั้น  หรือจังหวะของหน้าต่างและช่องลมกับสีสรรค์ที่ดูเข้ากันอย่างเหมาะจะซึ่งผมพยายามที่จะถ่ายภาพให้ทั้งภาพเท่ากันหมดแต่ก้ค่อนข้างลำบากนิดหนึ่งครับเพราะการตั้งกล้องให้ตรงและพยามจะทำให้สองข้างเท่ากันโดยไม่ใช้ขาตั้งนี่จะทำให้ตำแหน่งคลาดเคลื่อนครับภาพแบบนี้ผิดเพี้ยนนิดหนึ่งก็เสียความมีเสนห์ไปแล้วครับ

         การใช้เลนส์ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนี่สามารถใช้ได้ทุกช่วง ตั้งแต่กว้่่างมากจนถึงเทเลโฟโต้ โดยมากถ่ายภาพภาพสถาปัตยกรรมกับสิ่งแวดล้อมก็มักจะใช้เลนส์มุมกว้างครับ


Lens 20mm /f 5.6 speed 250 iso 100

ผมถ่ายภาพ Rochester Castle ในฤดูหนาวที่อังกฤษใช้เลนส์มุมกว้าง 20 มม.เพราะต้องการจะบันทึกตัวปราสาทและกำแพงรวมถึง สถาพแวดล้อมครับ โชดดีที่มีเวลารอแสงครับ ผมถ่ายภาพตอนเช้า รอแสงให้ตกลงที่ตัวปราสาทและกำแพงครับ เพราะว่า การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนี่แสงมีส่วนสำคัญมากในการทำให้ภาพอาคารมีมิติคือมีนำ้หนักไม่ดูแบนและ ยัง ช่วยเน้นรูปร่างรูปทรงของสถาปัตยกรรมนั้นอีกด้วย นอกจากนี่ยังใช้ต้นไม้เป็นฉากหน้าเพื่อช่วยเติมให้ภาพมีระยะใกล้ไกลครับ
ผมวัดแสงเฉพาะจุดที่ตัวปราสาทได้ 500 ที่รูรับแสง 16 แล้ววัดในที่มืดตรงสนามหญ้าได้ 60ที่รูรับแสงเท่าเดิม เพื่อไม่ให้ภาพมีความเปรียบต่างของแสงมากเกินไปคือตัวปราสาทจะพอดีแต่ สนามหญ้าจะมืดมาก เลยเลือกถ่ายภาพที่250 และ 125 ครับ ผมใช้รูปที่ถ่าย250 เพราะ้บริเวณฉากหน้ามีรายละเอียดไม่มืดสนิทแต่ก็ไม่สว่างเกินไป และที่ไม่ใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลียเพราะระบบนี้มักจะเอาค่าของแสงในส่วนที่มืดและสว่างมาเฉลี่ยกันทำให้ภาพออกมาเท่าๆกันไปหมดไม่มีนำ้หนักครับ


แต่ว่าท่านนักถ่ายภาพส่วนใหญ่ไม่มีโอกาศได้นั้งรอแสงเป็นชัวโมงแน่ๆครับ ก็อาจจะต้องอาศัยโชคบ้าง


Lens80-200 /f 8 speed 250 iso 100 Filter PL

อย่างภาพวัดรองขุ่นที่เชียงราย ผมไปในวันหยุดที่ผู้คนมาก ผมใช้เลนส์เทเลโฟโตที่ 200 มม.ถ่ายเฉพาะส่วนตัวโบสถ์ตัดส่วนที่มีนักท่องเที่ยวล้นหลามออก และอากาศหน้าหนาวภาคเหนือบ้านเราก็แจ่มใสดีครับ แต่ท้องฟ้าก็ยังไม่เข้มพอ ผมเลยใช้ ฟิลเตอร์โพลาไลซ์ (Polarize) หรือ PL ซึ่งก็ใช้กันบ่อยๆครับในงานสถาปัตยกรรมเพราะช่วยตัดแสงสะท้อนในกระจกและทำให้ท้องฟ้ามีสีเข้มครับ เทคนิคง่ายๆก็คือพยายามถ่ายให้ดวงอาทิตย์อยู่ข้างหลังทำมุมกับสิ่งที่จะถ่ายประมาณ 45 องศาแล้วก็หมุนที่ฟิลเตอร์จนกว่าจะได้ความเข้มของท้องฟ้าจนเป็นที่พอใจครับ

 อย่างที่กล่าวในตอนแรกครับ สถาปนิคมักจะชอบเล่นกับเส้นสายรูปร่างรูปทรง นักถ่ายภาพอย่างเราก็เข้าไปเก็นบันทึกเพื่อสร้างสรรค์ความงามในรูปแบบของตัวเอง


Lens17-55 /f 8 speed 60 iso 400
ผมไปที่หอศิลบวัฒนธรรมกรุงเทพ ที่สี่แยกปทุมวันตอนเปิดใหม่ๆ ก็ประทับใจในการเล่นเส้นสายของแต่ละชั้นในตัวอาคาร ลองเดินวนดูรอบๆขึ้นๆลงๆมองสูงมองต่ำเพื่อหามุม ที่สามารถเล่นกับเส้นในอาคารให้ได้ ภาพนี่ผมถ่าย ให้ดูเป็นที่คล้ายกับศิลปะนามธรรมที่แสดงเพียงจังหวะขององค์ประกอบศิลป์ครับ ใช้เลนส์ มุมกว้าง 17 มม. ไม่สนใจเรื่องความผิดเพี้ยนของภาพ วัดแสงเฉลี่ยได้เลยครับภาพลักษณะนี้แสงไม่ต่างกันมากระบบวัดแสงในกล้องช่วยเราได้สบายสบายครับแต่ถ้าแสงน้อยมากๆก็ควรใช้ขาตั้งกล้องนะครับเพื่อความคมชัด ผมไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ความไวแสงมากกว่า 400 เพราะนอกจากจะมีNoiseแล้วยั้งทำให้นำ้หนักแสงเงาในหายไปอีกด้วย
         หรือถ้าบางครั้งการที่มีคนอยู่ในภาพบ้างก็อาจจะช่วยในภาพน่าสนใจและมีชีวิตชีวามากขึ้นนะครับ

Lens45 /f 8 speed 30 iso 400

ใน London City Hall มีเส้นสายที่สวยงามครับแต่ผมอย่างให้มันดูมีชีวิตมีการเคลื่อนไหวหน่อยก็เลยหามุมที่ชอบแล้วรอให้คนเดินผ่านเร็วๆครับใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่สูงมาประมาณ 1/30 คนที่เดินผ่านก็จะไม่ชัด ดูกำลังเคลื่อนที่ทำให้ภาพไม่นิ่งจนเกินไป


Lens17 /f 11 speed 125 iso 100


อย่างภาพนี้ผมถ่ายระหว่างรอต่อเครื่องบินที่ สนามบิน โคเปเฮเกิน ประเทศเดนมาร์กไม่รู้จะทำอะไรระหว่างรอ เห็นอาคารเขาสวยดีก็เดินยกกล้องถ่ายเล่น และได้ภาพประทับใจ ทำให้การรอไม่น่าเบื่อไปเลย การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมนี่จริงแล้วเป็นความสุขใกล้ๆตัวนะครับ เราเห็นมันตลอดเวลา เราสามารถถ่ายภาพแบบไหนก็ได้ เป็นการเรียนรู้ที่จะ สร้างองประกอบศิลป์ และเป็นการช่วยเติมเต็มสุทรียะเวลามองผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกด้วยครับ ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม นะครับ

                 
                 

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สีสรรค์ The Colour


สีสรรค์ The Colour

เพราะโลกนี้คือสี คำโฆษณาเก่าๆที่หลายคนคงจะคุ้นหู และเห็นด้วยว่าโลกเรามีสีสรรค์มากมาย เอาแค่ตาเราเห็นในชีวิตประจำวันก็เยอะจนนับไม่ไหวแล้ว หลายครั้งท่ีธรรมชาติเกิดจังหวะสีสดใสสวยงาม จนช่างภาพต้องการถ่ายภาพไว้ สีสรรค์ในธรรมชาติส่วนใหญ่จะผสมกลมกลืนกันหลายหลากโทนสี ไม่มีสีอะไรอยู่โดดเดียว ซึ่งมักจะไล่นำ้หนักตามโทนสี มีความกลมกลืนกัน ภาษาคิลปะเรียกว่า Harmony ใบไม้สีเหลืองในธรรมชาติ ไม่อยู่โดดๆ มักจะมีสีคู่ใกล้เคียงผสมเจืออยู่ เราก็ต้องช่างสังเกตุพอสมควรครับ

( Kodak E100 vs, Lens 105 macro ,f 8 /speed500)
จากภาพคงพอจะสังเกตุเห็นสีนำ้ตาลเข้มไล่โทนไปจนถึงสีนำ้ตาลอ่อนแล้วค่อยมาเป็นเหลอืงที่มีหลายโทนสี ภาพนี้ถ่ายด้วยฟิลม์ สไลด์ครับในยุคฟิลม์ภาพสีสดนี่ต้องเลือกที่ฟิลม์เท่านั้น ถ้าจะใช้สีสดมากๆก็ต้อง Fuji Velvie 50หรือ Kodak E100 vs ถ่ายให้อันเดอร์ 1/3 สตอป สีก็จะสดเข้มครับ ทุกวันนี้ฟิลม์เหล่านี้ก็ยังคงใช้อยู่และก็ยังเป็นฟิลม์ในใจของช่างภาพเป็นจำนวนมาก
     ถ้ามองไปรอบๆสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีสีสรรค์สดใสสวยงามอยู่มากอย่างนี้การบันทึกภาพก็น่าจะเป็นเรื่องง่ายๆนะครับแต่พอเอาเข้าจริงๆภาพที่บันทึกได้กลับไม่สามารถดึงดูดสีอันสดสวยออกมาได้
     ปัจจัยแรกที่สำคัญที่สุดคือการวัดแสงและการปรับค่าความไวชัตเตอร์และรูรับแสงให้ถูกต้องกับสภาพแสง 



(Lens 17-55 ,f 11/speed 250 iso 100)
ในภาพนี้ผมเดินอยู่ในตลาดนัดที่เมือง Bergen นอร์เวย ของที่มาขายก็เป็นของที่ใช้ทั่วๆไป แต่คนที่นั้นคงจะชอบสีสดๆเพราะคงเบ่ืออากาศทึ่มๆฝนๆแบภาคใต้ของนอร์เวย ภาพนี้ผมแทบไม่ต่องทำอะไรเลย วัดแสงไปตามสภาพแสง สีสรรค์ที่สดใสอยู่ตรงหน้า เลือกมุมให้ดี แค่นี้ก็ได้ภาพสีสดตามใจเราแล้ว
     พอเป็นอย่างนี้อาจจะมีคำถามว่า แล้วโหมดบันทึกภาพสีสดในกล้องหรือที่เรียกว่า Vivid Modeล่ะ ทำไมไม่ใช้ เจ้าโหมดนี้มันก็ดีครับในบางกรณี แต่ว่าบ่อยครั้งสีมันจัดหรือเข้มเกินไป เพราะว่ามันมักจะไปเร่งที่Contrast หรือความเปรียบต่างของนำ้หนักสีในภาพ

(Lens 17-55 ,f 11/speed 500 iso 100)


ยิ่งถ้าเป็นภาพคนแล้วยิ่งดูไม่ได้เลยเพราะนำ้หนักจะเข้มเกินไป 
ลำพังถ่ายด้วย JPG ใช้โหมดปกติก็สีสดพอแล้วครับ อย่างไรก็ตามถ้าเราถ่ายภาพเป็น Rawไฟล์ เราก็สามารถเอามาปรับความสดของสีโดยโปรแกรมต่างๆได้ด้วยตัวเองครับ
     ภาพนี้ถ่ายด้วยโหมดนอร์มอล ของกล้องครับ ในวันที่แสงดีๆอากาศแจ่มใส ขอให้เราช่างสังเกตุนิดๆ เดี๋ยวเราก็ได้ภาพสีสดใสถูกใจเราเองครับ




(Lens 17-55 ,f 11/speed 125 iso 100)

อย่างนี้คงมีคำถามว่าแล้ว ถ้าเวลาอื่นๆเช่นกลางคืนละจะถ่ายภาพให้สีสดๆได้อย่างไร ถ้ามีแสงมันก็ไม่ใช้ปัญหาครับ ในกล้องเรามีตัวปรับอุณหภูมิแสง หรือที่เรียกว่า White balance เราต้องปรับให้สมดุลกับสภาพแสงตามแหล่งกำเนิดแสงนั้น



แบบAuto



                           แบบ Daylight
(Lens 80-200 ,f 8/speed 250 iso 400)

ลิเกเด็กนี่แสดงเวลากลางคืนครับผมลองบันทึกภาพด้วย White balance แบบ Auto สีก็ยังไม่ค่อยถูกใจเพราะมันไปปรับให้พอดีกับแหล่งแสงเป็นไฟสปอตร์ไลท์ ออกโทนส้มๆ คือมันจะทำให้แสงเป็นแสงขาวครับ สีจะไม่ค่อยสดแบบในภาพแรก ดังนั้นผมจึงเลือกใช้การปรับแบบ Daylight ซึ่งจะสมดุลกับแสงกลางวัน ทำให้ภาพที่ออกมาเหมือนกับที่ตาเห็น เรื่อง White balance นี่ถ้ามีโอกาศ จะมาเล่าให้ละเอียดอีกที่
     การได้เห็นสีสรรค์ที่สดใสแล้วบันทึกเก็บไว้ได้นี่ ก็คือเราเห็นโลกละเอียดละออขึ้น เห็นความงามง่ายๆที่อยู่รอบๆ เป็นความสุขที่ได้จากการถ่ายภาพอย่างหนึ่ง  ขอให้สนุกการการบันทึกสีของโลกเรานะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Depth of filed การควบคุมช่วงความชัด

เคยสงสัยไหมครับว่าอะไรเป็นสิ่งที่ สำคัญจนแทบจะเป็นหัวใจของการถ่ายภาพ หลายครั้งที่เราท่าน นักถ่ายภาพ มีความสงสัยเสมอ ว่ารูปที่ดีนี่คืออะไร ถ้าไม่นับความงามและเนื้อหาที่ลึกซึ้งกินใจแล้ว ปัจจัยแรกๆของการถ่ายภาพก็ คือเรื่องความชัดครับ เจ้าความชัดนี่มีหลายระดับ เบื้องต้นที่สุดก็คือการปรับ โฟกัสให้ชัดตามที่ตาเห็นในช่องมองภาพ ก่อนเป็นอันดับแรก แต่ก็ยังไม่พอครับเพราะว่ามันมีความชัดของภาพที่เราไม่เห็นด้วยครับ ไอ้เจ้านี่เราเรียกมันว่า ช่วงระยะความชัด ของภาพ หรือ Depth of filed เรียกให้ง่ายๆกว่านั้นก็คือ ชัดลึก ชัดตื้น ครับ  ที่เรียกแบบนี้ก็เพราะเราแบ่งช่วงความชัดออกเป็น 2 แบบ ใหญ่ ก็คือ ช่วงความชัดไม่มากเราก็เรียกว่าชัดตื้น ภาพจะชัดเพียงแค่บางส่วนที่ต้องการให้ชัด แต่ถ้าต้องการ
ให้ชัดหมดทั้งภาพก็เรียกว่าชัดลึก

ปัจจัยที่ควบคุมชัคลึกชัดตื้นนี่ก็คือรูรับแสงครับ ถ้ารูรับแสงกว้างคือตั้งแต่ 1.4 ไปจนถึง5.6จะให้ผลคือชัคตื้น คือชัดเฉพาะบาง และช่วงระยะความชัดจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามขนาดที่แคบลงของรูรับแสง นั้นก็คือที่ รูรับแสงแคบสุดที่ 16 หรือ 22 ภาพจะมีช่วงความชัดลึกที่สุดคือชัดเกื่อบทั้งภาพ 

­
จากตัวอย่างในภาพ รูปแรกถ่ายด้วยรูรับแสงกว้าง คือ F 4 ครับจะเห็นได้ว่าชัดเฉพาะ รถคันสีชมพูข้างหน้า เมื่อเราปรับรูรับแสงมาเป็นที่  F 8 โดยยังคงโฟกัสที่รถสีชมพูคันหน้า ช่วงความชัดจะเพิ่มขึ้นจะเห็นได้ว่ารถคันที่ 2 จะชัดขึ้น พอมาที่รูรับแสงแคบสุด คือ F 22 ช่วงความชัดก็จะครอบคลุม ไปทั้งภาพ รถคันหลังก็จะชัดขึ้นครับ
 ที่หลายท่านคงสงสัยว่าภาพแบบไหนละครับที่ควรใช้ชัดลึกหรือชัดตื้น ความจริงมันก็ไม่มีสูตรอะไรตายตัวหรอกครับ แต่ที่เห็นและนำไปใช้บ่อยๆก็คือ ถ้าต้องการเน้นแบบไม่ได้ต้องการฉากหลังก็ใช้ชัดตื้นครับ ภาพที่ชอบใช้ ชัดตื้นกันมากๆนี่ก็เป็นภาพบุคคลครับ





                              
                                                Len 85/F 1.4  ,1/60
อย่างภาพนี่ถ่ายด้วยรูรับแสงกว้างสุด คือ 1.4 และใช้เลนส์เทเลโฟโต้ขนาด 85 .. ซึ่งมีช่วงความชัดน้อย ภาพที่ออกมาจึงมีความชัดเพียงแค่ช่วงดวงตาเท่านั้น เลยจากนั้นจะเบลอไปหมดเลยครับ 


Lens 70-210 /F2.8, 1/250
ในขณะที่อีกภาพ ใช้รูรับแสง แคบมาหน่อย คือ F 2.8 และมีระยะห่างสมควร ใช้เลนส์ช่วง155 มม.ของ เลนส์ 70-210  เพื่อให้ภาพมีช่วงความชัดมากขึ้นทั้งตัวแบบแต่ ฉากหลังเบลอจนไม่เห็นอะไรเลย
            ส่วนชัดลึกนั้น ก็สมชื่อครับ มักจะใช้ถ่ายภาพ ที่อยากให้เห็นฉากหลังชัด หรืออยากให้ภาพมีความลึก ที่เห็นกันบ่อยก็ภาพทิวทัศน์ครับ ภาพนี้ถ่ายกลางความหนาวริมทะเลสาบที่นอรเวย์ ใช้เลนส์มุมกว้าง 20 .. ตั้งรูรับแสงแคบๆ ที่F16  เพื่อภาพจะได้ชัดทั้งภาพ 


 Lens 20/F 16, 1/125, Film ISO 100

        และด้วยความที่เป็นเลนส์มุมกว้าง มีองศาการรับภาพมาก จะมีช่วงความชัดมากกว่าเลนส์ เทเลโฟโต้ ทำให้บางครั้งเราไมจำเป็นต้องใช้ รูรับแสงแคบสุดเสมอไป อย่างในภาพนี้ครับ เป็นภาพยามเย็นที่แสงน้อยแล้วครับถ้าใช้รูรับแสงแคคสุดที่  F 22 อาจจะได้ความไวชัดเตอร์ที่ไม่สูงพอที่จะถือถ่ายภาพได้ ผมเลยใช้รูรับแสงกลางๆคือ  F 8  แต่ด้วยความที่เป็นเลนส์มุมกว้าง ทำให้ช่วงความชัดลึกในภาพมีมากจนน่าพอใจครับ



Lens 28/F 8 ,1/30
 อย่างไรก็ตามไม่ได้มีกฏตายตัวอะไร ว่าเลนส์มุมกว้างต้องให้ชัดลึกหรือเลนส์เทเลโฟโต้ต้องให้ชัดตื้นเสมอไป
         อย่างภาพนาข้าวชุดนี้ครับ ภาพแรกก็ใช้เลนส์ เทเลโฟโต้ 105 ..ถ่ายที่รูรับแสงกว้างที่ F 4  แต่รูปที่ /2 ผมต้องการให้เห็นบรรยากาศของนาข้าวแต่ยังคงเน้นที่รวงข้าวอยู เลยใช้เลนส์ มุมกว้าง ช่วง 17 .. ของซูม 17-55 เปิดรูรับแสงกว้างสุดที่   F 2.8 ผลที่ได้ก็คือ ภาพชัดเฉพาะช่วงรวงข้าวแต่ฉากหลังกลับค่อยเบลอไป เป็นการแสดงแสดงสภาพแวดล้องของสิ่งที่เราเน้นครับ ส่วนภาพสุดท้ายใช้เลนส์ ช่วงที่แคบคือ 55 ..เพราะอยากตัดส่วนที่รกรุงรังในภาพข้างๆออก ใช้รูรับแสงแคบๆเพื่อให้ภาพมีช่วงความชัดที่มากขึ้นครับ
 

การควบคุมช่วงความชัดนี่จะว่าไปก็เป็นเรื่อสำคัญของการถ่ายภาพเลยนะครับ ถ้าเราเข้าใจหลักการเราก็สามารถ สร้างสรรค์ภาพวางจุดเด่นจุดรองได้ตามที่เราคิด ทำให้เราสามารถสื่อสารสิ่งที่อยู่ในใจเราออกมาเป็นภาพถ่ายที่สวยงามตามใจเราครับ

                                                                        พิจักษณ์ ทนันชัยบุตร


Stop an Action

 Stop an Action การหยุดการเคลื่อนไหว



การหยุดการเคลื่อนไหว เรื่องหนึ่งที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของการถ่ายภาพ เป็นการเปิดมุมมองที่ปกติไม่สามารถเห็นได้ การจะหยุดการเคลื่อนไหว หรือ actionนี้ เป็นหน้าที่ของ  ความไวชัตเตอร์ หรือ ที่เรียกกันว่า Shutter speed ซึ่งก็คือ ความเร็วของ ตัวเปิดปิด  ม่านชัตเตอร์ในกล้อง ที่มีหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้าสู่ ตัวรับภาพในกล้อง   ในเวลาที่เรากดชัตเตอร์ ม่านชัตเตอร์ก็จะทำการเปิดปิดในเวลาที่กำหนด โดยมากความเร็วชัตเตอร์ มักจะเริ่มที่ 30 วินาที่ ไปจนถึง 1/2000 วินาที ซึ่งถ้าใช้กล้อง DSLR นักถ่ายภายภาพคงจะคุ้นกับ ค่าความไวชัตเตอร์  1 ,1/2,  1/4,1/8, 1/15, 1/30, 1/60, 1/125, 1/250, 1/500 ,1/1000, 1/2000 ,1/4000 ค่าเหล่านี้ถือว่าเป็นค่าหลัก ของความไวชัตเตอร์ เรามักจะเรียกเป็นค่าเต็มๆแบบ 250 ครับไม่ค่อยมีใคร พูด 1/250 กรณีที่ มากกว่า  1วินาทีก็เรียก 4 วินาทีไปเลย
       ความไวชัตเตอร์ หรือ Shutter speed ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากของการถ่ายภาพเลยครับ เพราะจะเป็นตัวควบคุมความคมชัดของภาพ ควบคุมการหยุดการเคลื่อนไหว หรือการสร้างสรรค์ต่างๆที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
ถ้าต้องการจะหยุดการเคลื่่อนไหว ก้จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง ก็คือ ตั้งแต่ 250 ขึ้นไปครับ  เพราะว่า เวลาเรากดชัตเตอร์ที่กล้อง ม่านชัตเตอร์จะเปิดและปิดด้วยความเร็ว  เศษ 1 ส่วน 250 วินาที ซึ่งก็เพียงพอสำหรับการหยุดการเคลื่อนที่ปกติที่เราเห็นในชีวิตประจำวันได้ครับ ความเร็วชัตเตอร์

                                                                                                ( Lens 17-55,f 8,speed 250)

ภาพนกนางนวลนี้ถ่ายด้วยความเร็ว 1/250 วินาที่ ที่ รูรับแสง 8 นกบินไม่เร็วนักเลยสามารถหยุดความเคลื่อนไหวได้










(Lens 17-55,f 8,speed 250)

แต่อีกกับภาพนี้จะเห็นว่ามีนกบางส่วนไม่ชัดเพราะนก 2 ตัวหลังบินเร็วจนเกิดกว่า ความเณ้วชัตเตอร์ 250 จะหยุดการเคลื่อนที่ได้

การเคลื่อนไหวนี่ บางครั้งดูแล้วอาจจะเหมื่อนไม่เร็วมาก แต่พอ บันทึกภาพจริงๆกลับ ถ่ายไม่ทัน
หรือหยุดการเคลื่อนที่ไม่ได้เสียอย่างนั้น   ภาพนี่ดูเหมื่อนไม่น่าจะเร็วมากนะครับแต่ว่า ความเร็วชัตเตอร์ 250 นี่ก็ไม่สามารถหยุดการเคื่อนไหวได้ เลยต้องเพิ่มมาเป็น 1/500 ซึ่งผลที่ได้ก็คือเหมื่อนกับจักรยานหยุดนิ่งจอด อยู่กับที่



         (Lens 80-200, f 5.6, speed 250)                 (Lens 17-55,f 5.6,speed 500 pan กล้อง)

ในขณะที่อีกภาพผมเคลื่อนกล้อง(Pan)ไปตามทิศทางเดียวกับจักรยาน  เพื่อสร้างความเคลื่อนไหว โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าเดิมภาพก็ยังคมชัดแต่ดมีการเคลื่อนไหวกว่ามาก

ถ้าหากมีการเคลื่อนที่ เร็วมากๆ เราก็ต้องปรับความไวชัตเตอร์ให้สูงขึ้น โดยปกติ แล้วมักจะเกิน 1/1000 ขึ้นไป และถ้ากล้องของท่านสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ ก็จะจับ จังหวะที่ ดีที่สุดซึ่งภาษาถ่ายภาพเราเรียกว่า Peak Moment






3 ภาพนี้ถ่ายด้วยความเร็ว 1/1000 วินาที่ รูรับแสง 5.6  ISO 400 ใช้โหมดการถ่ายภาพต่อเนื่อง 5 ภาพ ต่อวินาที่ เลือกใช้ จากช่วงกลางของการบันทึกภาพ   การโฟกัสในลักษณะนี้ ถ้่าใกล้ และเคลื่อนกล้องตามเล็กน้อยแบบในภาพ ผมใช้ออโตโฟกัสแบบต่อเนื่อง พยายามให้จุดโฟกัสอยู่ที่ตัวแบบเริ่มกด ตอนเห็นล้อจักรยานแล้วปล่อยให้กล้องรัวไปครับ จน จักรยานออกจากเฟรมไป
 ในบางครั้งที่แสงน้อยและไม่สามารถใช้ความไวชัตเตอร์ที่สูงได้ แฟลช ก็จะกลายเป็นตัวช่วยสำคัญ









(Lens 17-55,f 8,speed 250)


ภาพนี้ ถ่ายด้วย โหมดการถ่ายภาพต่อเนื่อง 5 ภาพ ต่อวินาทีแบบชุดแรก ใช้แฟลชเพื่อหยุดการเคลื่อนที่ ผลก็คือภาพจะคมชัดแบบหยุดนิ่งแต่ ต้องระวังไม่ให้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าความเร็วชัตเตอร์ที่สัมพันธ์กับแฟลช โดยมากมักจะไม่เกิน 1/250 และต้องมีกำลังไฟเต็มเพราะเป็นการถ่ายต่อเนื่องจะใช้พลังงานมาก ส่วนการโฟกัส เป็นการตั้งกล้องรอ ตำแหน่งเดิม เลยต้องใช้แมนนวลโฟกัส โดยกะตำแหน่งไว้ก่อน เพราะจักรยานจะวิ่งมาเข้าโฟกัสเอง ครับ
การถ่ายภาพ แบบ หยุด Action นี่สนุกมากครับเป็นการนำสิ่งที่เห็นได้เพียงเสี้ยววินาที มาแน่นิ่งไว้ หากท่านนักถ่ายภาพจับ จังหวะนั้นได้ ภาพของท่านจะมีเสนห์มากเลยครับ ขอให้สนุกครับ


                                                                                                                                                                                                                                                                 พิจักษณ์ ทนันชัยบุตร

ผู้ติดตาม